การส่งผลงานและการพิจารณา

1.คุณสมบัติผู้นำเสนอ
     ประเภทบทความ (Full Text Paper)
อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
     ประเภทการอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion)
อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาศึกษา ภาคประชาสังคม และบุคคลทั่วไปที่ทำงานหรือสนใจประเด็นเกี่ยวกับชายแดนและการพัฒนาระหว่างประเทศ


2. ข้อแนะนำสำหรับการส่งผลงาน
2.1 การจัดเตรียมต้นฉบับ
ประเภทบทความ (Full Text Paper)
บทความภาษาไทยความยาวไม่เกิน 15 หน้า รวมรูปภาพ ตาราง และการอ้างอิง ใช้แบบฟอร์มและรูปแบบการพิมพ์ที่การประชุมฯ กำหนด

ประเภทการอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion)
กรณีนำเสนอเป็นภาษาไทย ให้ผู้รับผิดชอบของ Panel จัดเตรียมและรวบรวมส่งบทคัดย่อภาษาไทย 2 ส่วน ประกอบด้วย บทคัดย่อสรุปภาพรวมของ Panel ความยาวไม่เกิน 1 หน้า และบทคัดย่อของผลงานนำเสนอทั้งหมดที่ประกอบรวมเป็น Panel นั้น โดยบทคัดย่อของแต่ละผลงานนำเสนอให้มีความยาวไม่เกิน 1 หน้า การจัดเตรียมบทคัดย่อให้ใช้แบบฟอร์มและรูปแบบการพิมพ์ที่การประชุมฯ กำหนด

กรณีนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ ให้ผู้รับผิดชอบของ Panel จัดเตรียมและรวบรวมส่งบทคัดย่อภาษาอังกฤษ 2 ส่วน ประกอบด้วย บทคัดย่อสรุปภาพรวมของ Panel ความยาวไม่เกิน 1 หน้า และบทคัดย่อของผลงานนำเสนอทั้งหมดที่ประกอบรวมเป็น Panel นั้น โดยบทคัดย่อของแต่ละผลงานนำเสนอให้มีความยาวไม่เกิน 1 หน้า การจัดเตรียมบทคัดย่อให้ใช้แบบฟอร์มและรูปแบบการพิมพ์ที่การประชุมฯ กำหนด

2.2 การส่งผลงาน
ส่งบทความ (สำหรับผู้นำเสนอประเภท Full Text Paper) และบทคัดย่อ (สำหรับผู้นำเสนอประเภท Panel Discussion) ทาง https://bsid.mfu.ac.th ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไป

  • จากหน้าเว็บไซต์การประชุมฯ เลือกเมนู “ลงทะเบียน” เลือกประเภทการลงทะเบียนตามรูปแบบที่ท่านต้องการส่งผลงานนำเสนอ จากนั้นดำเนินการตามขั้นตอนของระบบลงทะเบียนต่อไป
  • ผู้ที่เคยสมัครเข้าร่วมการประชุมฯ แล้ว ให้ log in เข้าระบบ สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยสมัคร ให้ทำการสมัครก่อน โดยกดปุ่ม sign up
  • เมื่อสมัครเรียบร้อยแล้ว สามารถ log in ด้วย E-mail และ password ที่ใช้ในการสมัคร
  • เลือกปุ่ม Submission เพื่อส่งบทความสำหรับผู้นำเสนอแบบ Individual Paper และส่งบทคัดย่อสำหรับผู้นำเสนอแบบ Panel Discussion
  • กรณีของผู้นำเสนอแบบบทความ กรอกรายละเอียดของท่าน พร้อมแนบไฟล์บทความ ที่เป็นไฟล์ Microsoft word (.doc หรือ .docx)
  • กรณีของผู้นำเสนอแบบ Panel Discussion ให้ผู้รับผิดชอบ Panel กรอกรายละเอียดของ Panel พร้อมแนบไฟล์รวบรวมบทคัดย่อของผลงานนำเสนอและบทคัดย่อสรุปภาพรวมของ Panel ที่เป็นไฟล์ Microsoft word (.doc หรือ .docx) โดยให้รวมส่งมาเป็นไฟล์เดียวกัน ห้ามแยกส่งโดยเด็ดขาด

3. การพิจารณาผลงาน
3.1 เงื่อนไขการส่งผลงาน

  • ประเภทบทความ (Full Text Paper)
    • บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
    • บทความที่จะนำเสนอในการประชุมนี้สามารถนำเสนอได้ทั้งบทความวิชาการและบทความวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ โดยที่จะต้องมีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับหัวข้อและขอบเขตเนื้อหาของการประชุมฯ
    • ผู้สนใจจะนำเสนอบทความในการประชุมวิชาการจะต้องส่งบทความฉบับเต็ม (Full paper) ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ ทางระบบการส่งบทความออนไลน์ ผ่านทางเวปไซต์ https://bsid.mfu.ac.th/
    • ดาวน์โหลดรูปแบบการพิมพ์บทความ
    • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มสำหรับบทความ
  • ประเภทการอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion)
    • บทคัดย่อของผลงานนำเสนอใน Panel จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
    • Panel ที่ส่งเข้ามาต้องประกอบด้วยผลงานนำเสนออย่างน้อย 3 ผลงาน
    • ผลงานที่จะนำเสนอด้วยรูปแบบ Panel Discussion สามารถนำเสนอได้ทั้งงานวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และภาคนิพนธ์ โดยต้องมีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับหัวข้อและขอบเขตเนื้อหาของการประชุมฯ
    • ผู้สนใจจะนำเสนอแบบ Panel Discussion ในการประชุมวิชาการจะต้องส่งบทคัดย่อตามรูปแบบที่กำหนดไว้ ทางระบบการส่งบทความออนไลน์ ผ่านทางเวปไซต์ https://bsid.mfu.ac.th
    • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการพิมพ์บทคัดย่อของพาแนลภาษาไทย
    • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการพิมพ์บทคัดย่อของพาแนลภาษาอังกฤษ

3.2 ขั้นตอนการพิจารณาผลงาน

  • ประเภทบทความ (Full Text Paper)
    1. ผู้นำเสนอส่งผลงานผ่านทางเว็ปไซต์งานประชุมฯ https://bsid.mfu.ac.th
    2. คณะกรรมการฝ่ายวิชาการพิจารณาบทความเบื้องต้น
    3. คณะกรรมการจัดงานส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน โดยบทความต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ใน 3 ท่าน จึงจะผ่านเกณฑ์และอาจมีการเสนอแนะให้แก้ไขบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ
    4. คณะกรรมการจัดงานประชุมฯ แจ้งผลการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิให้แก่ผู้นำเสนอทราบทางระบบลงทะเบียนของเว็ปไซต์งานประชุมและทางอีเมลที่ผู้นำเสนอได้ลงทะเบียนไว้
    5. กรณีที่มีการแก้ไขบทความ ผู้นำเสนอบทความจะต้องแก้ไขอย่างเหมาะสมตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งบทความที่แก้ไขแล้วกลับมาผ่านระบบลงทะเบียนทางเว็ปไซต์งานประชุมภายในระยะเวลาที่กำหนด
    6. คณะกรรมการจัดงานประชุมฯ แจ้งยืนยันการส่งบทความฉบับแก้ไขแก่ผู้นำเสนอทางระบบลงทะเบียนในเว็ปไซต์งานประชุมและทางอีเมลที่ผู้นำเสนอได้ลงทะเบียนไว้
    7. คณะกรรมการจัดงานประชุมฯ ประกาศผลบทความที่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอ
    8. เมื่อบทความได้รับคัดเลือกให้นำเสนอ ผู้นำเสนอจะต้องชำระเงินค่าลงทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • ประเภทการอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion)
    1. ผู้นำเสนอส่งผลงานผ่านทางเว็ปไซต์งานประชุมฯ https://bsid.mfu.ac.th/
    2. คณะกรรมการฝ่ายวิชาการพิจารณาเนื้อหาของ Panel เบื้องต้น (อันประกอบด้วยชื่อ Panel บทคัดย่อสรุปภาพรวมของ Panel และบทคัดย่อของผลงานที่จะนำเสนอภายใต้ panel นั้น)
    3. คณะกรรมการจัดงานประชุมฯ ส่งเนื้อหาของ Panel ให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน โดยเนื้อหาของ Panel ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ใน 3 ท่าน จึงจะผ่านเกณฑ์และอาจมีการเสนอแนะให้แก้ไขเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ
    4. คณะกรรมการจัดงานประชุมฯ แจ้งผลการประเมิน Panel จากผู้ทรงคุณวุฒิให้แก่ผู้นำเสนอทราบทางระบบลงทะเบียนของเว็ปไซต์งานประชุมและทางอีเมลที่ผู้นำเสนอได้ลงทะเบียนไว้
    5. กรณีที่มีการแก้ไขเนื้อหาของ Panel ผู้นำเสนอจะต้องแก้ไขอย่างเหมาะสมตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งผลงานที่แก้ไขแล้วกลับมาผ่านระบบลงทะเบียนทางเว็ปไซต์งานประชุมภายในระยะเวลาที่กำหนด
    6. คณะกรรมการจัดงานประชุมฯ แจ้งยืนยันการส่งผลงานฉบับแก้ไขแก่ผู้นำเสนอทางระบบลงทะเบียนในเว็ปไซต์งานประชุมและทางอีเมลที่ผู้นำเสนอได้ลงทะเบียนไว้
    7. คณะกรรมการจัดงานประชุมฯ ประกาศผล Panel ที่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอ
    8. เมื่อ Panel ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอ ผู้นำเสนอจะต้องชำระเงินค่าลงทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด

4. การตีพิมพ์
4.1 ประเภทบทความ (Full Text Paper)
หลังผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิให้นำเสนอผลงาน บทคัดย่อของบทความจะถูกตีพิมพ์ในเอกสารรวมบทคัดย่อของการประชุมฯ เพื่อใช้แจกให้ผู้เข้าร่วมงาน สำหรับบทความฉบับสมบูรณ์ที่ปรับแก้ตามความเห็นผู้ทรงคุณวุฒิแล้วจะได้รับการตีพิมพ์ลงในเอกสารหลังการประชุมฯ (proceedings) ในรูปแบบ e-book พร้อมเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) ซึ่งผู้เขียนสามารถนำไปอ้างอิงเป็นผลงานตีพิมพ์ได้ เอกสารดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ในเว็บไซต์และเฟสบุ๊ค (facebook) ของงานประชุมฯ

4.2 ประเภทการอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion)
หลังผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิให้นำเสนอผลงาน บทคัดย่อของ panel จะถูกตีพิมพ์ในเอกสารรวมบทคัดย่อของการประชุมฯ เพื่อใช้แจกให้ผู้เข้าร่วมงานและเมื่องานประชุมเสร็จสิ้นลง บทคัดย่อดังกล่าวจะถูกตีพิมพ์ในเอกสารหลังการประชุมฯ (proceedings) ในรูปแบบ e-book พร้อมเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) ในส่วน “รวมบทคัดย่อ” ซึ่งผู้เขียนสามารถนำไปอ้างอิงเป็นผลงานตีพิมพ์ได้ เอกสารดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ในเว็บไซต์และเฟสบุ๊ค (facebook) ของงานประชุมฯ